ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสญี่ปุ่น – ไทย

  การจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่สมรสชาวไทย – ญี่ปุ่น 

  สามารถทำได้ 2 แบบ คือ 

 

  จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน  แล้วจึงรายงานไปยังทางการประเทศไทย

  จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน  แล้วจึงรายงานไปยังทางการประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคู่สมรส  ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าอยากจดที่ไหนก่อนและไม่มีผลอะไรกับการยื่นวีซ่า

 

จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนแล้วแจ้งต่อทางการไทยภายหลัง  มี 2 กรณีคือ

คู่สมรสอยู่ไทย

ในกรณีนี้คู่สมรสชาวไทยไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นก็ได้  คู่สมรสชาวญี่ปุ่นสามารถดำเนินการยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสคนเดียวได้เลย  ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียม  มีดังนี้

 เอกสารของคู่สมรสชาวไทย

🔹  独身証明書  ใบรับรองสถานภาพโสด  

🔹  住居登録証  ทะเบียนบ้าน

🔹  出生証明書  สูติบัตร

🔹  申述書  หนังสือปฏิญานตน

🔹  เอกสารเพิ่มเติมอื่นๆ  เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง  ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล  หากเคยแต่งงานมาก่อนก็ให้นำใบสำคัญการหย่ามาด้วย  ทั้งนี้ควรตรวจสอบกับอำเภอที่จะยื่นเรื่องแต่งงานให้ดี  เนื่องจากแต่ละอำเภอก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแต่กต่างกันไป

🔹 เอกสารภาษาไทยต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษและประทับตรารับรองโดยกระทรวงต่างประเทศไทย  จากนั้นนำมาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นก่อนยื่นจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น

เอกสารของคู่สมรสชาวญี่ปุ่น

🔹  戸籍謄本 โคเซกิโทฮง  อายุไม่เกิน 3 เดือน

🔹  婚姻届 แบบฟอร์มการสมรส  ซึ่งลงลายมือชื่อคู่สมรสชาวไทยเป็นที่เรียบร้อย

🔹 บัตรแสดงตัวตน  เช่น  ใบขับขี่  มายนัมเบอร์

 

  คู่สมรสอยู่ญี่ปุ่น

เอกสารของคู่สมรสชาวไทย

🔸  หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส  (ใบโสด)

🔸  หนังสือเดินทางฉบับจริง

🔸  บัตรประจำตัวประชาชน

🔸  สำเนาทะเบียนบ้าน

🔸  สูติบัตร

🔸  หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย

🔸  หากเคยจดทะเบียนหย่า ต้องเตรียมทะเบียนหย่า หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่ามาด้วย

🔸  หญิงไทยต้องจดทะเบียนหย่าแล้วไม่น้อยกว่า 100 วัน และหากหย่าไม่ถึง 310 วัน ต้องเตรียมใบรับรองแพทย์ระบุว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดงด้วย ซึ่งต้องตรวจก่อนวันยื่นเรื่องไม่เกิน 1 วัน

🔸 เอกสารภาษาไทยต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษและประทับตรารับรองโดยกระทรวงต่างประเทศไทย  จากนั้นนำมาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นก่อนยื่นจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น

เอกสารของคู่สมรสชาวญี่ปุ่น

🔹  戸籍謄本 โคเซกิโทฮง  อายุไม่เกิน 3 เดือน

🔹  婚姻届 แบบฟอร์มการสมรส

🔹 บัตรแสดงตัวตน  เช่น  ใบขับขี่  มายนัมเบอร์

 

🌀  เตรียมเอกสารที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสไปยื่นที่อำเภอ  ทั้งนี้แต่ละอำเภอก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไป  ดังนั้นจึงควรตรวจสอบไปยังอำเภอที่ต้องการยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสเพื่อความถูกต้อง

🌀  จากนั้นรอประมาณ 1 – 2  สัปดาห์  ก็จะได้โคเซกิโทฮงฉบับใหม่  ที่สามารถนำไปใช้ในการแจ้งต่อทางการไทย

 

💞  ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย  💞

แปลโคเซกิโทฮงเป็นภาษาอังกฤษและนำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค  จากนั้น นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมายที่โนตารีพับลิคนั้นๆ สังกัดอยู่  แล้วจึงนำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น 
แปลโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองข้างต้นเป็นภาษาไทย   
นำโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองพร้อมคำแปลภาษาไทย  ไปขอประทับตรารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

นำโคเซกิโทฮงพร้อมคำแปลภาษาไทย  ที่ผ่านขั้นตอนประทับตราแล้วไปแจ้งบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่อำเภอไทยที่ตนเองมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย

ที่ว่าการอำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในสำเนาทะเบียนบ้านไทย

ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย(กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้)

 

  หากทำการจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นและแจ้งต่อทางการไทยเรียบร้อยแล้ว  ก็สามารถยื่นขอวีซ่าคู่สมรสได้ทันที

  หากอยู่เกินกำหนดวันที่วีซ่าระบุหรือโอเวอร์สเตย์  จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไป ‼

  กรุณาปรึกษาทางสำนักงานโดยตรงนะครับ

 

  จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนแล้วแจ้งต่อทางการญี่ปุ่นภายหลัง 

  กรณีนี้คู่สมรสทั้งคู่ต้องอยู่ไทย แล้วไปดำเนินการยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสที่อำเภอทั้งคู่  โดยคู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องนำเอกสารด้านล่างนี้ไปยื่นขอหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส  และหนังสือรับรองความเป็นโสด  จากสถานฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

  เอกสารของคู่สมรสชาวญี่ปุ่น

ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง)  1 ฉบับ  โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  ทะเบียนครอบครัวต้องออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

  ผู้ที่เคยสมรสมาก่อนต้องนำทะเบียนครอบครัวที่ระบุเรื่องการหย่าหรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเดิมมาด้วย

  หนังสือรับรองความเป็นโสดนั้นออกจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น ดังนั้น กรุณาเขียนคำอ่าน (ฟุริกานา) กำกับชื่อสกุล, ชื่อบิดามารดา, ภูมิลำเนาและสถานที่เกิดด้วย

ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น  1 ฉบับ  ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

หนังสือรับรองการทำงาน 1 ฉบับ  ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

หนังสือรับรองรายได้  1 ฉบับ  ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนาหน้ารายละเอียด 1 ชุด)

ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง1 ฉบับ   กรอกด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ

แบบสอบถามเพื่อพิมพ์หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส

หนังสือมอบอำนาจ1 ใบ  (ในกรณีให้ผู้อื่นมายื่นแทน)

  เอกสารของคู่สมรสชาวไทย

🌸  บัตรประจำตัวประชาชน  (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

🌸  ทะเบียนบ้าน  (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

🌸  หนังสือเดินทาง  (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)  ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องนำมา

🌸  กรณีเคยสมรสมาก่อน……… ใบสำคัญการหย่า ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

🌸  กรณีเคยเปลี่ยนชื่อสกุล……… ใบเปลี่ยนชื่อสกุล ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

🌸  กรณีมีบุตรโดยไม่ได้สมรส……… ใบสูติบัตรของเด็ก ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

 

🌳  หลังจากเตรียมเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นครบถ้วนแล้ว  นำมายื่นที่เคาน์เตอร์แผนกหนังสือรับรองหนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย  สถานเอกอัครฯ จะออกหนังสือรับรองความเป็นโสด และ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติฯ ฉบับภาษาอังกฤษให้คู่สมรส

🌳  แปลหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส  และหนังสือรับรองความเป็นโสด  ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยออกให้นั้นเป็นภาษาไทยและนำไปรับการประทับตรารับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย

🌳  หลังจากได้รับหนังสือรับรองฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยประทับตรารับรองแล้ว ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำหนังสือรับรองฯ ดังกล่าวไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเพื่อทำการจดทะเบียนสมรสต่อไป อนึ่ง เกี่ยวกับเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่จะต้องนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเวลายื่นจดทะเบียนสมรสนั้น กรุณาสอบถามจากที่ว่าเขต/อำเภอของประเทศไทยโดยตรง

🌳  หลังจากที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยรับเรื่องการจดทะเบียนสมรสแล้วจะออก “ใบสำคัญการสมรส” ให้คู่สมรสทั้งสอง เป็นการเสร็จสมบูรณ์ของระเบียบการจดทะเบียนในประเทศไทย

🌳  คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะยื่นจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่คู่สมรสฝ่ายไทยมีทะเบียนบ้านอยู่

🌳  หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยแล้ว  กรุณาแจ้งการจดทะเบียนสมรสดังกล่าว ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยต้องแจ้งการจดทะเบียนสมรสภายในสามเดือน‼

💮  ข้อมูลบางส่วนจากสถานฑูตญี่ปุ่นในไทย กันยายน 2019

  หากทำการจดทะเบียนสมรสที่ไทยและแจ้งต่อทางการญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว  ก็สามารถยื่นขอวีซ่าคู่สมรสได้ทันที ‼

  หากคิดว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นมีขั้นตอนยุ่งยากแล้ว  การยื่นวีซ่าคู่สมรสนั้นมีหลายขั้นตอนและไม่ใช่ว่าทุกคนที่ยื่นจะได้วีซ่านะครับ  เพื่อลดความยุ่งยากและกังวลต่อการถูกปฏิเสธวีซ่า  ให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการให้จะดีกว่านะครับ 😃