โคเซกิโทฮง 戸籍謄本 (ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น)

โคเซกิโทฮง  หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า  ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนั้น  คือเอกสารที่ถูกบันทึกประวัติของบุคคลในครอบครัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมรส  การหย่า  การมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ส่วนใหญ่ที่คนไทยต้องใช้โคเซกิโทฮงกันก็คือ  กรณีการสมรสและการหย่า  เพื่อทำให้การสมรสและการหย่าสมบูรณ์ทั้งทางฝั่งไทยและญี่ปุ่น

โคเซกิโทฮงกรณีสมรส

การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่น  นั้นทำได้ 2 วิธีคือ

จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน  แล้วจึงรายงานไปยังประเทศไทย

จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน  แล้วจึงรายงานไปยังประเทศญี่ปุ่น

โคเซกิโทฮงนั้นจะได้รับเฉพาะในกรณีที่จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนเท่านั้น  เมื่อจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นแล้วนั้น  โดยทั่วไป 1-2 อาทิตย์  จะได้โคเซกิโทฮงที่ถูกบันทึกชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรสคนไทย  เมื่อได้โคเซกิโทฮงมาแล้วนั้นขั้นตอนการรายงานการสมรสไปยังประเทศไทย  ทำได้ดังนี้

1. แปลโคเซกิโทฮงจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ

2. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โคโชนินยาคุบะ

3. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรอง ที่โฮมุเคียคุ

4. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรองจากไกมุโช

5. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเป็นภาษาอังกฤษและประทับตราทุกที่เรียบร้อยแล้วแปลเป็นภาษาไทยทั้งหมด

6. นำโคเซกิโทฮงและเอกสารในข้อ 1-5 ไปขอประทับตรารับรองที่สถานทูตไทย

7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานทูตไทยเพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่อำเภอไทย

สำนักงานรับดำเนินการแปลโคเซกิโทฮงและนำไปประทับตราตามข้อ 1-5  ส่วนการนำเอกสารไปขอประทับตรารับรองที่สถานฑูตนั้น  ไม่สามารถให้ตัวแทนดำเนินการได้  ดังนั้นคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปสถานฑูตด้วยตัวเอง

 

โคเซกิโทฮงกรณีหย่า

เมื่อจดทะเบียนหย่าที่อำเภอญี่ปุ่นแล้ว  โดยทั่วไปประมาณหนึ่งอาทิตย์จะได้โคเซกิโทฮงที่ถูกบันทึกการหย่าเรียบร้อยแล้ว  เมื่อได้โคเซกิโทฮงมาแล้วนั้น  ต้องทำเรื่องรายงานไปยังประเทศไทย โดยขั้นตอนการรายงานการหย่าไปยังประเทศไทย  ทำได้ดังนี้

1. แปลโคเซกิโทฮงจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ

2. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โคโชนินยาคุบะ

3. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรอง ที่โฮมุเคียคุ

4. นำโคเซกิโทฮงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปประทับตรารับรองจากไกมุโช

5. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเป็นภาษาอังกฤษและประทับตราทุกที่เรียบร้อยแล้วแปลเป็นภาษาไทยทั้งหมด

6. นำโคเซกิโทฮงและเอกสารในข้อ 1-5 ไปขอประทับตรารับรองที่สถานทูตไทย

7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานทูตไทยเพื่อขอบันทึกการหย่าที่อำเภอไทย

สำนักงานรับดำเนินการแปลโคเซกิโทฮงและนำไปประทับตราตามข้อ 1-5  ส่วนการนำเอกสารไปขอประทับตรารับรองที่สถานฑูตนั้น  ไม่สามารถให้ตัวแทนดำเนินการได้  ดังนั้นอดีตคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปสถานฑูตด้วยตัวเอง

 

โคเซกิโทฮงของแต่ละคนนั้นปริมาณเนื้อหาและความยากง่ายแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล  ดังนั้นค่าดำเนินการแปลโคเซกิโทฮงจึงต่างกันไป  ถ้าต้องการสอบถามค่าดำเนินการ  สามารถส่งรูปถ่ายโคเซกิโทฮงมาได้ตามช่องทางนี้นะครับ

Facebook  Hideki Fukada

Email  fukada100@gmail.com