วีซ่าหย่า

วีซ่าหย่า 離婚定住

หลายๆ คนที่หย่าแล้วไม่ต้องการกลับประเทศไทย  จำเป็นต้องทำการยื่นขอเปลี่ยนวีซ่า  โดยถ้าเงื่อนไขตรงตามที่นิวกังกำหนดก็สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าที่คนไทยเรียกกันว่า  วีซ่าหย่า 離婚定住 ได้  ซึ่งในไซริวการ์ดจะระบุสถานะว่า 定住者

วีซ่าหย่ามีข้อดีตรงที่สามารถทำงานได้ทุกประเภทและไม่จำกัดชั่วโมงการทำงาน

วีซ่าหย่านั้น  แบ่งเป็นวีซ่าหย่ากับคนญี่ปุ่นและวีซ่าหย่ากับผู้ถือวีซ่าพำนักถาวร(เอจู)  ซึ่งเงื่อนไขในการขอเปลี่ยนวีซ่านั้นมีความแตกต่างกันบางจุด

ผู้ที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นจะได้รับวีซ่าคู่สมรสคนญี่ปุ่น日本人の配偶者等  ถ้าหย่ากับคนญี่ปุ่น  ต้องแจ้งนิวกังภายใน 14 วัน  หากไม่แจ้งจะมีปัญหาตอนยื่นเปลี่ยนวีซ่าได้  และหลังจดทะเบียนหย่า 6 เดือนนิวกังมีสิทธิเพิกถอนวีซ่าได้

 

เงื่อนไขในการขอวีซ่าหย่าของคู่สมรสคนญี่ปุ่นมีดังนี้

แต่งงานและอยู่ร่วมกันที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

กรณีมีลูกด้วยกัน ถึงจะแต่งงานกันไม่ถึง 3 ปี  ก็มีโอกาสยื่นขอเปลี่ยนวีซ่าได้

มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงดูตนเองและลูก(กรณีมีลูก)

กรณีมีหลักฐานถูกทำร้ายร่างกาย ถึงจะแต่งงานกันไม่ถึง 3 ปี  ก็มีโอกาสยื่นขอเปลี่ยนวีซ่าได้

สิ่งที่ต้องระวัง

บางคนแต่งงานกันมามากกว่า 3 ปี  แต่พึ่งย้ายมาอยู่ญี่ปุ่น  ไม่ถึง 3 ปี  ตรงนี้จะไม่เข้าเงื่อนไขในการขอเปลี่ยนวีซ่า

บางคนอยู่กันมาเกิน 3 ปี ในประเทศญี่ปุ่น  แต่กลับไทยบ่อยและไปอยู่ไทยเป็นระยะเวลานานๆ ในแต่ละครั้งก็อาจทำให้วีซ่าไม่ผ่านได้

 

ผู้ที่แต่งงานกับผู้ที่ถือวีซ่าพำนักถาวร(เอจู) จะได้รับวีซ่าคู่สมรสของผู้ที่ถือวีซ่าพำนักถาวร  永住者の配偶者等  ถ้าหย่าแล้วต้องแจ้งนิวกังภายใน 14 วัน  หากไม่แจ้งจะมีปัญหาตอนยื่นเปลี่ยนวีซ่าได้  และหลังจดทะเบียนหย่า 6 เดือนนิวกังมีสิทธิเพิกถอนวีซ่าได้

เงื่อนไขในการขอวีซ่าหย่าของคู่สมรสของผู้ที่ถือวีซ่าพำนักถาวรมีดังนี้

แต่งงานและอยู่ร่วมกันที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงดูตนเองและลูก(กรณีมีลูก)

สิ่งที่ต้องระวัง

บางคนแต่งงานกันมามากกว่า 3 ปี  แต่พึ่งย้ายมาอยู่ญี่ปุ่น  ไม่ถึง 3 ปี  ตรงนี้จะไม่เข้าเงื่อนไขในการขอวีซ่า

บางคนอยู่กันมาเกิน 3 ปี ในประเทศญี่ปุ่น  แต่กลับไทยบ่อยและไปอยู่ไทยเป็นระยะเวลานานๆ ในแต่ละครั้งก็อาจทำให้วีซ่าไม่ผ่านได้

วีซ่าคู่สมรสของผู้ที่ถือวีซ่าพำนักถาวรจะไม่เหมือนคู่สมรสคนญี่ปุ่น  เนื่องจากถึงมีลูกแต่ก็ไม่สามารถนำเรื่องลูกมาเป็นเงื่อนไขในการขอวีซ่าหย่าได้

 

การขอวีซ่าหย่านั้นต้องอธิบายเป็นภาษาญี่ปุ่นถึงเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการหย่า  รวมไปถึงเหตุผลในการที่ต้องการอยู่ต่อที่ประเทศญี่ปุ่น  อีกทั้งแผนการดำรงชีวิตหลังจากหย่าด้วย  โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นการยื่นขอเปลี่ยนวีซ่าค่อนข้างยาก  หากยื่นไปแล้วไม่สามารถทำการเปลี่ยนวีซ่าได้ก็จำเป็นต้องกลับไทยเท่านั้น  ดังนั้นการยื่นขอวีซ่าหย่านั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดีกว่านะครับ