มรดกและพินัยกรรม

 

🌿 💎  มรดก    คือ  ทรัพย์สินและสิทธิ  รวมถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบทุกชนิดของผู้ตาย  ไม่ว่าจะเป็น

🏠   อสังหาริมทรัพย์  เช่น  บ้าน  ที่ดิน

🚗   สังหาริมทรัพย์  เช่น  รถ  เงินฝากในบัญชีธนาคาร  เงินสด  หุ้น  กองทุนต่างๆ

💰   ภาระหนี้ต่างๆ ที่ผู้ตายได้สร้างไว้ก่อนเสียชีวิต  เช่น  หนี้เงินกู้  หนี้ค้ำประกัน

 

🍃  เมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้วนั้น  คนในครอบครัวสามารถตกลงแบ่งมรดกกันเองได้  แต่หากตกลงกันไม่ได้นั้น  ต้องแบ่งกันไปตามกฎหมาย  ซึ่งกฎหมายประเทศญี่ปุ่นระบุลำดับทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก  ไว้ดังนี้

 

💝  ทายาทลำดับที่ 1 ลูก  💝

แต่หากลูกได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น  ให้ยกมรดกในส่วนของลูกให้กับ ⏩  ⏩  ลูกของลูก

 

💝  ทายาทลำดับที่ 2 พ่อแม่  💝

แต่หากพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น  ให้ยกมรดกในส่วนของพ่อแม่ให้กับ   ⏩  ⏩  พ่อแม่ของพ่อแม่

 

💝  ทายาทลำดับที่ 3  พี่น้อง  💝

แต่หากพี่น้องได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น  ให้ยกมรดกในส่วนของพี่น้องให้กับ   ⏩  ⏩   ลูกของพี่น้อง

 

💒   ส่วนคู่สมรสนั้นกฎหมายได้ยกไว้ให้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพียงคนเดียว  หากไม่มีทายาทผู้รับมรดก  แต่หากมีทายาท  จำเป็นจะต้องมีการแบ่งมรดกกันไปในสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้  ตามนี้คือ

 

🌱   กรณีคู่สมรสและลูก   🌱

💫  มรดกจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

💫  คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 1 ส่วน

💫  ลูกมีสิทธิได้รับมรดก 1 ส่วน

💫  หากมีลูกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ให้นำ 1 ส่วน ที่ลูกจะได้แบ่งกันไปเท่าๆ กัน

 

🌱   กรณีคู่สมรสและพ่อแม่ผู้เสียชีวิต   🌱  

💫  มรดกจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

💫  คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก  2 ใน 3  ส่วน

💫  พ่อหรือแม่มีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3  ส่วน

💫  หากพ่อและแม่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ทั้งคู่  ให้พ่อและแม่นำ 1 ส่วนนั้น  แบ่งไปเท่าๆ กัน

 

🌱  กรณีคู่สมรสและพี่น้องผู้เสียชีวิต  🌱

💫  มรดกจะถูกแบ่งออกเป็น  4  ส่วน

💫  คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก  3 ใน 4  ส่วน

💫  พี่น้องมีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 4  ส่วน

💫  หากมีพี่น้องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ให้นำ 1 ส่วน ที่พี่น้องจะได้แบ่งกันไปเท่าๆ กัน

 

🎐 หมายเหตุ  🎐

🍒  ทั้งนี้ทายาทจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน  หากทายาทลำดับที่ใกล้ที่สุดยังมีชีวิตอยู่

🍒  ผู้ที่สละสมบัติและผู้ที่เกี่ยวข้องทางพฤตินัยแต่ไม่ถูกต้องตามนิตินัยนั้น  ไม่มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย

 

🌞    ที่กล่าวไปข้างต้นนั้น  ว่าด้วยเรื่องมรดกที่จะตกทอดกับทายาทตามกฎหมาย  แต่หากมีการทำพินัยกรรมก่อนเสียชีวิตแล้วนั้น  มีผลทำให้มรดกดังกล่าวเป็นไปตามพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

☄  พินัยกรรม  คือ การทำทำหนังสือเป็นคำสั่งว่าเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว  ให้ยกทรัพย์สินใดๆ ให้ใคร  จำนวนเท่าไรบ้าง

☄  ในการทำพินัยกรรมนั้นพินัยกรรมจะมีผลตามกฎหมายของประเทศผู้ทำพินัยกรรม  เช่น  คนไทยเป็นผู้ทำก็ย่อมมีผลไปตามกฎหมายประเทศไทย  หากคนญี่ปุ่นเป็นผู้ทำก็ย่อมมีผลไปตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น  ในที่นี้จะขอกล่าวถึงพินัยกรรมว่าด้วยกฎหมายญี่ปุ่นเท่านั้น

 

🍑  ประโยชน์ของพินัยกรรม  🍑

☘  สามารถระบุได้ว่าให้ใครได้ทรัพย์สินอะไรบ้างและคนนั้นจะได้รับทรัพย์สินนั้นอย่างแน่นอน

☘  สามารถยกทรัพย์สินให้ใครก็ได้  โดยไม่ต้องผูกพันธ์กันทางด้านกฎหมาย

☘  สามารถยกทรัพย์สินให้ใครก็ได้  โดยไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด

☘  หากไม่อยากให้ใครได้ทรัพย์สิน  สามารถตัดออกจากพินัยกรรมได้

☘  ลดปัญหาการแบ่งมรดกของทายาท

☘  ป้องกันการปลอมแปลงเอกสารของผู้ไม่ประสงค์ดี

 

⛩  พินัยกรรมตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่นนั้น  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  

🦋   ประเภทที่ 1 พินัยกรรมแบบทำเองทั้งฉบับ

🥥  พินัยกรรมประเภทนี้ต้องเขียนด้วยลายมือตนเองตลอดทั้งฉบับ  แต่กฎหมายพินัยกรรมฉบับปรับปรุง (13 มกราคม 2019) ได้มีการแก้ไขให้ใช้การพิมพ์ได้บางส่วน

🥥  พินัยกรรมประเภทนี้มีข้อเสีย คือ หากผู้เขียนไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายหรือพินัยกรรมอย่างเพียงพอ การเขียนพินัยกรรมนั้นอาจเกิดช่องโหว่ทางกฎหมายได้  ซึ่งหากมีช่องโหว่เพียงนิดเดียวก็จะถือว่าพินัยกรรมนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย พินัยกรรมนั้นอาจกลายเป็นโมฆะได้  รวมไปถึงหากเกิดเหตุไม่คาดคิด  เช่น  น้ำท่วม  ไฟไหม้  พินัยกรรมอาจเกิดการสูญเสียได้

 

🦋  ประเภทที่ 2 พินัยกรรมประเภททนายความรับรอง

🥥  พินัยกรรมประเภทนี้  ทนายความจะเป็นผู้ร่างพินัยกรรมตามความต้องการของผู้ทำพินัยกรรม  และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน  ซึ่งทนายความผู้ร่างพินัยกรรมสามารถลงชื่อเป็นพยานร่วมด้วยได้

🥥  เมื่อทนายความร่างพินัยกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ทนายพร้อมผู้ทำพินัยกรรมและพยานทั้ง 2 คน ต้องนำพินัยกรรมไปที่สำนักงาน Notarypublic เพื่อรับรองเอกสาร  โดยพินัยกรรมประเภทนี้ความผิดพลาดของพินัยกรรมนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย  เนื่องจากได้รับการร่างพินัยกรรมจากผู้เชียวชาญและรับรองเอกสารจากผู้ที่กระทรวงยุติธรรมได้รับรองแล้ว

🥥  นอกจากนี้ยังหมดห่วงด้านความปลอดภัยของพินัยกรรมอีกด้วย  เนื่องจากพินัยกรรมประเภทนี้ทนายความจะร่างขึ้น 2 ฉบับ  โดยเก็บไว้กับผู้ทำพินัยกรรม 1 ฉบับ  และเก็บไว้ที่สำนักงาน Notarypublic  อีก 1 ฉบับ

 

🦋  ประเภทที่ 3 พินัยกรรมลับ

🥥  พินัยกรรมประเภทนี้  จะถูกปิดผนึกอย่างแน่นหนาและประทับฮังโกะของผู้ทำพินัยกรรมไว้ตรงปิดผนึก  โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อที่ซองหลังปิดผนึกเรียบร้อย

 

🔆  🔆  กฎหมายมรดกฉบับปรับปรุง (1 กรกฎาคม 2019)  มีการแก้กฎหมายบางส่วน  ดังนี้  🔆  🔆

 

 

 

 

 

 

 

🔰  🔰  แต่ถึงจะมีการแก้กฎหมายใหม่แล้วแต่เพื่อไม่ให้มีปัญหาหรือการแบ่งมรดกเป็นไปอย่างล่าช้า 

จึงควรทำพินัยกรรมไว้ดีกว่านะครับ  😃