วีซ่าติดตามครอบครัว家族滞在
หลายคนที่มาทำงานหรือมาเรียนที่ญี่ปุ่น อยากจะพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน สามารถทำได้โดยการยื่นขอวีซ่าติดตามครอบครัว
วีซ่าติดตามครอบครัวนั้นสามารถพาครอบครัว เช่น สามี ภรรยา ลูก รวมไปถึงลูกบุญธรรม มาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยได้
วีซ่าติดตามครอบครัวไม่สามารถพาพ่อแม่ หรือสามี ภรรยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสมาอยู่ด้วยได้
โดยเมื่อพาครอบครัวมาอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วยแล้วนั้น ต้องพักอาศัยอยู่ด้วยกันจริงๆ หากเป็นสามี ภรรยา ก็ต้องอยู่ร่วมกันใช้ชีวิตสามี-ภรรยา ตามปกติ ไม่สามารถแยกกันอยู่ได้
หากพาลูกมาอยู่ด้วย ก็ต้องให้การศึกษาตามที่กฎหมายญี่ปุ่นกำหนด
ถ้าลูกอายุเกิน 18 ปีแล้ว การยื่นขอวีซ่าค่อนข้างยาก เนื่องจากตามกฎหมายญี่ปุ่นถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว
ผู้ที่มีสิทธิยื่นขอวีซ่าชนิดนี้
ผู้ที่ถือวีซ่าทำงานประเภทต่างๆ เช่น กุ๊ก พนักงานบริษัท
ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งต้องเป็นนักเรียนเซนมงหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น สำหรับนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนภาษาญี่ปุ่น ไม่สามารถทำเรื่องยื่นขอวีซ่าติดตามให้ครอบครัวมาอยู่ด้วยได้
🌻 วีซ่าติดตามครอบครัวกับการทำงาน 🌻
🌰 โดยปกติแล้วผู้ถือวีซ่าติดตามครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนนั้น ไม่สามารถทำงานได้หากนิวกังไม่อนุมัติ ดังนั้นการยื่นขออนุญาตจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อขออนุญาตแล้วจึงสามารถทำงานได้ไม่เกิน 28 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และไม่ว่าจะทำงานกี่แห่ง 2 หรือ 3 แห่ง ก็ต้องนับรวมกันให้ไม่เกิน 28 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ โดยนักเรียนประถม มัธยมต้น ไม่สามารถทำงานได้
🌰 ผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัวนั้น ต้องมีรายได้น้อยกว่าผู้ที่ถือวีซ่าหลัก บางกรณีผู้ถือวีซ่าติดตามครอบครัว ทำงานไม่เกิน 28 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็จริง แต่เป็นงานที่มีรายได้ต่อชั่วโมงสูง ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ถือวีซ่าหลักเงินเดือนน้อย ทำให้ผู้ถือวีซ่าติดตามมีรายได้มากกว่าผู้ที่ถือวีซ่าหลัก ข้อนี้จะทำให้วีซ่ามีปัญหาได้ทั้งคู่
🌰 ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนนั้น สามารถทำงานได้ถึงวันละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 40 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ในช่วงปิดเทอม
รายได้ของผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัวนั้น จะมีผลเกี่ยวเนื่องกับภาษี และประกันต่างๆ ที่ต้องจ่าย
💰 ผู้ที่มีรายได้เกิน 1,000,000 เยน ต่อปี จะต้องเสียภาษีท้องถิ่น (住民税 Juminzei)
💰 ผู้ที่มีรายได้เกิน 1,030,000 เยน ต่อปี จะต้องเสียภาษีเงินได้ (所得税 Shotoku zei)
💰 ผู้ที่มีรายได้เกิน 1,300,000 เยน ต่อปี ประกันสุขภาพ (健康保険 Kenkohoken) ของผู้ที่ถือวีซ่าหลักจะไม่ครอบคลุมผู้ถือวีซ่าติดตามครอบครัว จึงจำเป็นจะต้องจ่ายในส่วนนี้เพิ่ม
🌳 ปัจจุบันนี้ค่าแรงในการทำงานต่อชั่วโมงเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นถึงแม้ผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัวจะทำงานไม่เกิน 28 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่รายได้รวมต่อปีก็อาจมากจนต้องจ่ายส่วนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีปัญหาในการต่อวีซ่าแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องระวังไม่ให้รายได้มากกว่าผู้ที่ถือวีซ่าหลัก
หากผู้ถือวีซ่าติดตามครอบครัวจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือมีประสบการณ์ตามที่นิวกังเห็นสมควร ต้องการเปลี่ยนมาเป็นพนักงานประจำ (正社員Seishain) หรือ พนักงานสัญญาจ้าง (契約社員Keiyaku shain) ก็สามารถทำได้โดยที่ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชนิดวีซ่า
ผู้ที่จบเซนมง (専門学校) หรือจบมหาวิทยาลัย (大学) แล้วยังไม่สามารถหางานทำได้ สามารถยื่นเปลี่ยนเป็นวีซ่าหางานได้ ( 特定活動) โดยต่อได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 6 เดือน แต่ก็ไม่สามารถทำงานได้เกิน 28 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์อยู่ดี
‼ ‼ ข้อควรระวัง ‼ ‼
🚫 งานที่ผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัว และวีซ่านักเรียนไม่สามารถทำได้ มีหลายประเภท เช่น ร้านสแน็ค Snack Bar (スナック) ปาจิงโกะ บาร์โฮสต์ ร้านเกม❗
🚫 ผู้ถือวีซ่าติดตามครอบครัวและวีซ่านักเรียนที่ทำงานเหล่านี้ หากถูกจับแล้วต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000,000 เยน เมื่อพ้นโทษแล้ว จะถูกส่งกลับประเทศไทยในทันที และไม่สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 5 ปี ❗
⛔ หากทำงานเกินเวลาที่นิวกังกำหนด ไม่เพียงแต่ตนเองจะมีปัญหาเวลาต่อวีซ่าเท่านั้น ผู้ที่ถือวีซ่าหลักก็จะพลอยมีปัญหาไปด้วย โดยบางกรณีถึงกับไม่สามารถต่อวีซ่าได้ ต้องกลับไทยทั้งครอบครัวเลยก็มี ❗
👩👩👦👦 วีซ่าติดตามครอบครัวนั้น มีไว้สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าทำงานหรือวีซ่านักเรียนที่ต้องการพาครอบครัวมาอยู่ญี่ปุ่นด้วย ส่วนผู้ที่ถือวีซ่าคู่สมรสของคนญี่ปุ่นหรือผู้ที่ถือวีซ่าถาวรนั้น หากต้องการพาลูกมาอยู่ด้วย ให้ทำเรื่องขอวีซ่าเทจู (定住者) หลายคนสับสนระหว่างวีซ่า 2 ชนิดนี้ ❗
🌴 เอกสารที่ใช้ในการยื่นวีซ่าติดตามครอบครัว 🌴
1.在留資格認定証明書交付申請書 1通
2.顔写真 1枚
3.返信用封筒(定形封筒に宛先を明記の上、必要な額の郵便切手(簡易書留用)を貼付したもの) 1通
4.次のいずれかで、申請人と扶養者との身分関係を証する文書
(1) 戸籍謄本 1通
(2) 婚姻届受理証明書 1通
(3) 結婚証明書(写し) 1通
(4) 出生証明書(写し) 1通
(5) 上記(1)~(4)までに準ずる文書 適宜
5.扶養者の在留カード又は旅券の写し 1通
6.扶養者の職業及び収入を証する文書
(1) 扶養者が収入を伴う事業を運営する活動又は報酬を受ける活動を行っている場合
- 在職証明書又は営業許可書の写し等 1通
※ 扶養者の職業がわかる証明書を提出してください。 - 住民税の課税(又は非課税)証明書及び納税証明書(1年間の総所得及び納税状況が記載されたもの) 各1通
※ 1月1日現在お住まいの市区町村の区役所・市役所・役場から発行されます。
※ 1年間の総所得及び納税状況(税金を納めているかどうか)の両方が記載されている証明書であれば、いずれか一方でかまいません。
※ 入国後間もない場合や転居等により、お住まいの区役所・市役所・役場から発行されない場合は、最寄りの地方出入国在留管理官署にお問い合わせ下さい。
(2) 扶養者が上記(1)以外の活動を行っている場合
-
- 扶養者名義の預金残高証明書又は給付金額及び給付期間を明示した奨学金給付に関する証明書 適宜
- 上記aに準ずるもので、申請人の生活費用を支弁することができることを証するもの 適宜
🔅 🔅 🔅 🔅