ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว คือ เอกสารที่บันทึกสถานะความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การสมรส การหย่าร้าง ซึ่งจะบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของคู่สมรสหรือคู่หย่าไว้ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวออกจะให้โดยสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอไทย หลังจากที่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสหรือหย่าในต่างประเทศ แล้วรายงานการสมรสหรือการหย่ามายังประเทศไทย ซึ่งการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวนั้น สามารถยื่นคำร้องได้ที่อำเภอทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นอำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เท่านั้น
ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (สมรส)
🎀 การที่คนไทยจะยื่นขอวีซ่าแต่งงาน หรือวีซ่าคู่สมรสได้นั้นก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับชาวญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งการจดทะเบียนสมรสนั้นจะมีผลทางกฎหมายสมบูรณ์ ทั้งไทยและญี่ปุ่นก็ต่อเมื่อคู่สมรสได้ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุไว้ทั้ง 2 ประเทศ อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น 🎀
🌴 การที่จะทำให้การจดทะเบียนสมรสเป็นไปอย่างสมบูรณ์ทั้งไทยและญี่ปุ่นนั้น มีอยู่ 2 วิธีคือ 🌴
จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนแล้วแจ้งเรื่องการสมรสไปยังประเทศญี่ปุ่น
จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนแล้วแจ้งเรื่องการสมรสไปยังประเทศไทย
✨ ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงวิธีที่ 2 นั่นก็คือการจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน แล้วจึงส่งเรื่องไปยังประเทศไทยเพื่อขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว
✨ เมื่อบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้วนั้น จะได้เอกสารสำคัญที่จะใช้ในการยื่นขอวีซ่าแต่งงานหรือวีซ่าคู่สมรส เอกสารนั้นก็คือ ใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
🍀โดยขั้นตอนที่จะให้ได้มาซึ่ง ใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวนั้น สามารถดำเนินการได้ 2 แบบ ดังนี้🍀
แบบที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่คนจะนิยมทำแบบนี้มากกว่า
🌷 ขอโคเซกิโทฮงที่ระบุว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น
🌾 แปลโคเซกิโทฮงเป็นภาษาอังกฤษ
🌷 นำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค
🌾 นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมายที่โนตารีพับลิคนั้นๆ สังกัดอยู่
🌷 นำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
🌾 แปลโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองแล้วเป็นภาษาไทย
🌷 นำโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองพร้อมคำแปลภาษาไทย ไปขอประทับตรารับรองที่สถานทูตไทย
🌾 นำโคเซกิโทฮงที่สถานทูตไทยรับรองแล้ว ไปขอประทับตรารับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย
🌷 นำโคเซกิโทฮงที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย ไปขอขึ้นทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวที่อำเภอไทย
🌾 เมื่อได้รับใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้ว แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อยื่นขอวีซ่า
แบบที่ 2
ขอโคเซกิโทฮง 戸籍謄本 จากอำเภอ
ส่งโคเซกิโทฮงที่ได้รับ ให้กับคู่สมรสที่ประเทศไทย
คู่สมรสนำโคเซกิโทฮงไปยังสถานฑูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย
เจ้าหน้าที่สถานฑูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ทำการแปลโคเซกิโทฮงเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีค่าใช้จ่าย
นำโคเซกิโทฮงฉบับภาษาอังกฤษที่แปลโดยสถานฑูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ไปแปลเป็นภาษาไทย
นำโคเซกิโทฮงฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย ไปขอประทับตรารับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย
นำโคเซกิโทฮงที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย ไปขอขึ้นทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวที่อำเภอไทย
เมื่อได้รับใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้ว แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อยื่นขอวีซ่า
ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (หย่า)
ไม่เพียงแต่การสมรสเท่านั้น การหย่าก็เช่นกัน การที่จะทำให้การหย่าสมบูรณ์มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งที่ไทยและญี่ปุ่น เมื่อจดทะเบียนหย่าที่ญี่ปุ่นแล้วนั้นต้องทำเรื่องรายงานการหย่าไปยังประเทศไทย
ขั้นตอนการรายงานการหย่าไปยังประเทศไทย
ขอโคเซกิโทฮงที่ระบุว่าได้จดทะเบียนหย่าแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น
แปลโคเซกิโทฮงเป็นภาษาอังกฤษ
นำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค
นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมายที่โนตารีพับลิคนั้นๆ สังกัดอยู่
นำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
แปลโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองแล้วเป็นภาษาไทย
นำโคเซกิโทฮงและเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองพร้อมคำแปลภาษาไทย นำไปขอประทับตรารับรองที่สถานทูตไทย
นำโคเซกิโทฮงที่สถานทูตไทยรับรองแล้ว ไปขอประทับตรารับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย
นำโคเซกิโทฮงที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศไทย ไปขอขึ้นทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวที่อำเภอไทย
😃 จะเห็นได้ว่าการขอขึ้นทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวนั้นมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องไปติดต่อหน่วยงานหลายแห่ง ดังนั้นหากใครต้องการความสะดวกสบาย สามารถให้ทางสำนักงานดำเนินการในส่วนของทางญี่ปุ่นได้นะครับ ‼